* Art Horizon of Suchart Sawasdsri * โลกศิลปะของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี

บล็อกนี้แฟนคลับสร้างเป็นเกียรติแก่คุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี – ผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณกรรมแห่งตำนานโลกหนังสือและช่อการะเกด

เอ็ดวาร์ด มุ้งค์

scream_custom-9ef574d2014bd441879317ecf242ad060e34e743-s6-c30

“คุณต้องหลอมรวมความงามของโลกทั้งโลกไว้ด้วยกัน ริมฝีปากของคุณ เหมือนผลไม้สุกแดงอิ่ม ช่างสุภาพเหมือนความเจ็บปวด มันคือยิ้มของร่างที่สิ้นลม อุ้งหัตถ์แห่งความตายที่ยื่นมาสัมผัสชีวิต ข้อโซ่ที่ต่อเชื่อมเพื่อร้อยพันครอบครัวทั้งมวลเข้าสู่ความตาย และส่งต่อความตายนั้นไปให้อีกร้อยพันชั่วคนที่จะตามมา”

วาทะของศิลปินจิตรกรที่หลายคนในบ้านเราชื่นชม เอ็ดวาร์ด มุ้งค์ (Edvard Munch) เขาเป็นจิตรกรชาวนอรเว (ในยุคนั้นยังไม่ได้แยกประเทศออกเป็นสวีเดน และเดนมาร์ก) มุ้งค์เป็นเจ้าของผลงาน “เสียงกรีดร้อง”อันลือเลื่อง ชีวิตในครอบครัวหดหู่ของเขามีแต่พี่น้องที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยและความตาย ความตายได้จากพรากคนที่เขารักไปคนแล้วคนเล่า ทำให้ชีวิตทั้งวัยเด็กและวัยหนุ่มของเขาเศร้าโศรกมาตลอด จนกลายเป็นเหมือนคนอมทุกข์ (ไม่แตกต่างจากนิยายของนักเขียนในยุคสมัยเดียวกับเขา คือ ออร์กุสต์ สตรินด์แบร์ก และต่อมาได้ส่งอิทธิพลเชิงหดหู่มาให้งานภาพยนตร์ของ อิงมาร์ เบิร์กแมน ด้วย ใครดูหนังของอิงมาร์ เบิร์กแมนอย่าง”เข้าถึง”ต้องดูภาพเขียนของ เอ็ดวาร์ด มุ้งค์ ไปพร้อมกัน)

ภาพเขียนแนวหดหู่และโกรธเกรี้ยว คือแก่นหลักของภาพกระชากอารมณ์แบบ Expressionism ที่ต่อมาจะส่งแนวไปให้วินเซ็นต์ แวนโกะห์ อย่างไม่รู้ตัว หรืออาจกล่าวอีกอย่างได้ว่า วินเซ็น แวนโกะห์ ต่างหากที่ส่งแนวมาให้เอ็ดวาร์ด มุ้งค์ และทำให้เรามองเห็นรอยต่อระหว่าง Post -Impressionism กับ Expressionism ในยุโรปเหนือและยุโรปกลางได้แจ่มชัดมากขึ้น เพราะเต็มไปด้วยบรรยากาศหม่นมัว เหมือนเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับการเข่นฆ่าของมนุษย์กับมนุษย์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ใกล้มาถึง

MunchLonelyOnes

ความตายของคนในครอบครัวที่พบเห็นมาแต่วัยเยาว์ อาการเจ็บป่วยเป็นวัณโรคและซิฟิลิสขึ้นสมองของเขาเองน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานสร้างของมุ้งค์เต็มไปด้วยความเศร้า สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย และรันทดกับชีวิตส่วนตัวที่ไปลุ่มหลงสาวใหญ่ที่มีสามีแล้ว ตลอดชีวิตการสร้างศิลปะของเอ็ดวาร์ด มุ้งค์จึงมีอารมณ์พุ่งพล่านไม่แตกต่างไปจากวินเซ็นต์ แวนโกะห์

ผม และเทพศิริ สุขโสภา รู้สึกยินดีที่เราได้มีโอกาสไปเห็นงาน”จริง”ของเขาที่ลอนดอน งานภาพพิมพ์ “เสียงกรีดร้อง”ของเอ็ดวาร์ด มุ้งค์ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่อะไรนัก แต่ทำไมมันจึงส่งพลังออกมาให้เรามากเหลือเกิน และเมื่อได้พลังนั้นมา ในที่สุดเราก็จะมองเห็นความทุกข์ของคนอื่นๆที่อยู่รอบตัว แม้จะรื่นรมย์สักเพียงใด แต่เราทุกคนต่างก็เหมือนมี”เสียงกรีดร้อง”ของตัวเองซ่อนอยู่ตรงไหนสักแห่งเสมอ

จากบันทึกของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี

Single Post Navigation

ใส่ความเห็น